KWANMANIE
  • Home
  • Courses
    • All Courses
    • Essay Course for Admissions
    • Private Essay Course
    • SOP & Essay Editing Service
  • Films
    • Movie Reviews
    • Series
  • Books
    • Nonfiction
      • Self Improvement Books
      • Relationship Books
    • Fiction
  • Lifestyle & Perspective
    • Fashion & Beauty
    • Food & Restaurant
    • Plants
    • Productivity
    • Thoughts
    • Travel
    • Misc.
  • Study
    • How to Write a Statement of Purpose (SOP)
    • English Writing
    • General
  • About Me
    • Where to Find Me
Follow
  • Facebook
  • Twitter
  • Instagram
  • Pinterest
  • YouTube
Social Links
Instagram 5K Follow
Twitter 11K Follow
Facebook 10K Like
YouTube 7K Subscribe
TikTok
KWANMANIE
Follow
Follow
Like
Subscribe
KWANMANIE
  • Home
  • Courses
  • Films
    • Movie Reviews
    • Series
  • Books
    • Nonfiction
    • Fiction
  • Lifestyle & Perspective
    • Fashion & Beauty
    • Food & Restaurant
    • Plants
    • Productivity
    • Thoughts
    • Travel
    • Misc.
  • Study
  • About Me
    • Where to Find Me
  • Self Improvement Books
  • Relationship Books
  • Films
  • Movie Reviews

รีวิว A Complete Unknown: จาก ไร้ตัวตน สู่ บ๊อบ ดีแลน

  • February 26, 2025
  • kwanmanie
Total
0
Shares
0
0
0

A Complete Unknown เป็นหนังอัตชีวประวัติของ Bob Dylan ที่จะพาคุณไป “ไม่รู้อะไรเลย” เกี่ยวกับ Bob Dylan ตามชื่อหนัง A Complete Unknown และเป็นหนังที่จะพา Timothée Chalamet ไปเข้าใกล้ออสการ์มากที่สุด (ซึ่งถ้าทำได้ เขาจะได้ทุบสถิติเป็น Best Actor ที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ออสการ์​)

“There was a time when the old songs were new, right? Someone at some point had to give the songs a chance.”

ในขณะที่หนังอัตชีวประวัติคนดังทั่วไปมักชอบดึงดราม่าหรือเล่นด้านมืดของคนดัง เช่น เรื่องเซ็กส์ ยาเสพติด ชีวิตครอบครัวที่ล้มเหลว หรือราคาที่ต้องจ่ายของการเป็นคนประสบความสำเร็จ เช่น หนังเรื่อง Elvis (ที่เละเทะ เพราะไม่ชัดเจนว่าจะเล่าอะไรกันแน่) แต่ James Mangold (ผู้กำกับ Logan และ Ford v Ferrari) ไม่ได้เล่าถึง Bob Dylan ในโทนวิพากย์วิจารณ์หรือตัดสิน หากแต่ปักหมุดหมายทิศทางในการกำกับและเขียนบท A Complete Unknown อย่างชัดเจนว่า จะเล่าเรื่อง การเป็นตัวเองท่ามกลางแรงกดดันจากสังคม และ self-invention— “ตัวตนที่เขาอยากสร้าง หรือนักร้องแบบที่เขาอยากเป็น” หมายความว่า เราจะได้รู้จัก Bob Dylan เท่าที่เขาอยากให้โลกรู้จัก และอาจไม่มากไม่น้อยไปกว่าที่คนรอบตัวของเขารู้จักเขาด้วย

เช่น ฉากหนึ่งในที่แฟนสาวของเขาพูดว่า เธอไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเขาเลย เพราะ Bob Dylan ก็เป็นชื่อที่เขาตั้งขึ้นมาเอง (ชื่อจริงโดยกำเนิดของเขาคือ Robert Zimmerman) และเรื่องที่เขาเล่าว่า เขาเคยทำงานในโรงละครสัตว์ก็อาจจะเป็นเพียงเรื่องแต่งไปเรื่อย และฉากที่พวกเขาคุยเกี่ยวกับหนังเรื่อง Now, Voyager ในร้านอาหารจีน ในขณะที่แฟนของเขาใช้คำว่า ตัวละครเอก “ค้นหาตัวตน” หรือ “ค้นพบตัวตนที่ดีกว่า” แต่เขากลับมองว่า มันคือ “การสร้างตัวตนที่แตกต่าง” หรือ “เป็นคนที่อยากจะเป็น ณ ช่วงขณะนั้น” มากกว่า

สุดท้าย เราจะได้เห็นว่า ในฐานะนักดนตรี เขาประสบความสำเร็จ โดดเด่น อัจฉริยะ แต่ในฐานะคนคนนึง เราแทบไม่รู้อะไรเกี่ยวกับเขาเลยจริง ๆ … A Complete Unknown ตามชื่อหนังนั่นเอง

“She just made herself into something different… what she wanted to be in that moment,”

หนังดัดแปลงจากหนังสือ Dylan Goes Electric! Newport, Seeger, Dylan, and the Night That Split the Sixties ของ Elijah Wald เล่าถึงช่วงชีวิตของ Bob Dylan (Timothée Chalamet) ตั้งแต่เขามาเหยียบนิวยอร์กเมื่อปี 1961 เพื่อพบกับไอดอลของเขา Woody Guthrie (Scoot McNairy) ก่อนที่ Pete Seeger (Edward Norton) จะช่วยดันเขาให้ได้เป็นนักร้อง-นักดนตรี จน Bob ได้ออกอัลบั้มของตัวเอง และค่อย ๆ มีชื่อเสียง ในขณะเดียวกัน หนังก็เล่าถึง on-off relationships ของเขากับศิลปิน Sylvie Russo (Elle Fanning) และราชินีโฟล์คซอง Joan Baez (Monica Barbaro) แล้วสิ้นสุดช่วงปี 1965 ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านยุคโฟล์คซองของเขาสู่แนวร็อคแอนด์โรลที่พาเขาทะยานขึ้นไปดังเป็นพลุแตก

“Two hundred people in that room and each one wants me to be somebody else. They should just fuck off and let me be.”

ถึงแม้ว่าหนังจะไม่ได้พาเราไปรู้จัก Bob Dylan มากมาย แต่เราก็ได้เห็นจุดมุ่งหมายและแพสชั่นของเขาในการสร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ และเห็นว่าตัวตนที่เขาสร้างนั้นส่งผลกระทบอย่างไรต่อสังคมและคนรอบข้างบ้าง ซึ่งหนังเกลี่ยบทให้ตัวละครสมทบอย่างเหมาะสม

เช่น Pete Seeger ที่ช่วยปลุกปั้น Bob Dylan มากับมือ ด้วยหวังว่าจะช่วยทำให้ดนตรีโฟล์คเข้าถึงมากขึ้นในวงกว้าง แต่กลายเป็นว่าสุดท้ายเขาก็ต้องกลัวว่า ชื่อเสียงที่มากขึ้น ๆ ของ Bob Dylan จะมาเป็นตัวแปรทำให้โฟล์คตกยุคและเขาก็ตกงาน หรือ Joan Bae ที่ Bob วิจารณ์ว่า เธอพยายามในการแต่งเนื้อเพลงให้ภาษาสละสลวยเข้าใจยากและเปล่งเสียงร้องให้ไพเราะมากเกินไป (Your songs are like an oil painting at the dentist’s office.)

“We all keep rewriting the same song.”

ในขณะที่คนใกล้ชิดและคนที่รายล้อม Bob Dylan ในเรื่องคือคนในวงการหมด และมีส่วนสร้างให้เขาเป็นนักดนตรีที่ยิ่งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Pete Seeger, Johnny Cash, Albert Grossman, Bob Neuwirth, Joan Baez ฯลฯ Sylvie Russo ถือเป็นคนเดียวที่ไม่ได้อยู่ในวงการดนตรี เป็นตัวละครที่ทำให้เราได้เห็นมุมที่ละเอียดอ่อนหรือความเป็นมนุษย์ของชายคนนี้ และเป็นตัวละครเดียวในเรื่องที่ใช้นามสมมติ เพราะ Bob Dylan ขอไว้ แต่แฟน ๆ ต่างก็รู้กันดีว่าตัวละครนี้ก็คือ Suze Rotolo  ผู้หญิงที่อยู่บนปกอัลบั้ม The Freewheelin’ Bob Dylan (1963) คู่กันกับเขา

และในหนัง เราก็ได้เห็นความรักไปเจ็บไปของเธอ เพราะเธอรู้ตัวว่าเธอไม่สามารถอยู่กับคนดังแบบเขาได้ (Don’t ask for the moon. We have the stars.) อีกหนึ่งในไดอะล็อกที่เราชอบก็คือ ตอนที่เธอเปรียบตัวเองเหมือน จานหมุนที่นักกายกรรมเล่น เธอต้องการออกจากขบวนคาร์นิวัลนี้ก่อนที่วันนึง Bob จะบาลานซ์ไม่ได้แล้วทำเธอตกลงมาแตกเป็นเสี่ยง ๆ

“It was fun to be on the carnival train with you, Bobby, but I think I gotta step off. I feel like one of those plates, you know, that the French guy spins on those sticks on the Sullivan show.”

สิ่งที่โดดเด่นของหนังเรื่องนี้คือ เพลงไม่ใช่แค่เป็นซาวนด์แทร็กประกอบภาพยนตร์ หากแต่เขาใช้เพลงเป็นส่วนสำคัญในการเล่าและขับเคลื่อนเรื่องราว พร้อม ๆ กับมีประเด็นสงครามและการเมืองในยุคนั้นเป็นฉากหลัง เช่น เพลง Masters of Wars ที่เป็นหนึ่งในเพลง anti-war ที่คลาสสิกตลอดกาล หนังก็เล่าในช่วงสงครามเย็น หรือเพลง It Ain’t Me Babe ซึ่งอาจใช้ได้ทั้งนัยยะที่ว่า เขาเบื่อเหลือเกินที่่ต้องมาร้องโฟล์คซองหรือช่วยเรียกร้องสิทธิมนุษยชน และทั้งนัยยะความรักที่ว่า เขาไม่ใช่ชายที่เธอตามหาหรอก ก่อนจะนำไปสู่ฉากการแยกทางกับ Sylvie Russo

“People make up their past, Sylvie! They remember what they want, they forget the rest”. 

ความน่าทึ่งคือ Timothée Chalamet ไม่ใช่แค่แสดงเป็น Bob Dylan ได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ยังร้องเพลงเองด้วยทั้งอัลบั้ม สมแล้วที่เขาชนะรางวัลนักแสดงนำชายจาก SAG AWARDS และถ้าเขาจะได้ออสการ์ตามไปด้วยก็ไม่ใช่เรื่องเซอร์ไพรส์อะไร เพราะกรรมการออสการ์ส่วนใหญ่ก็ดูเป็นวัยที่เติบโตมากับ Bob Dylan (ณ ขณะที่พิมพ์ เรายังไม่ได้ดูการแสดงของ Adrien Brody ใน The Brutalist แต่ใจก็เทไปทาง Timothée Chalamet อยู่ดี)

A Complete Unknown เป็นหนังคุณภาพที่บท การกำกับ และการแสดงแข็งแกร่ง สมมงการเข้าชิงออสการ์ 8 สาขา ไม่จำเป็นต้องรู้จักหรือเป็นแฟน Bob Dylan ก็สามารถเข้าถึงได้ไม่ยาก เพราะเราเชื่อว่า ทุกคนต่างมีความฝันอยากจะเป็นอะไรสักอย่างโดยที่ไม่ละทิ้งความเป็นตัวเอง หรืออาจถูกใครสักคนกดดันให้เป็นอะไรสักอย่างด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

Share this:

  • Click to share on Facebook (Opens in new window)
  • Click to share on Twitter (Opens in new window)
  • Click to share on Pinterest (Opens in new window)

Related

Total
0
Shares
Share 0
Tweet 0
kwanmanie

Movie Blogger | Essay Tutor

Trending Posts
  • รีวิว Jurassic World Rebirth: เกิด (ใหม่) มาทำไม?
    รีวิว Jurassic World Rebirth: เกิด (ใหม่) มาทำไม?
  • Homepage
    Homepage
  • สรุปหนังสือ MANIFEST: 7 ขั้นตอนสู่ทุกสิ่งที่ปรารถนา
    สรุปหนังสือ MANIFEST: 7 ขั้นตอนสู่ทุกสิ่งที่ปรารถนา
  • ทำความรู้จักกับหนัง exotic ทั้ง 4 ประเภท ของกระเป๋าแบรนด์ S'uvimol
    ทำความรู้จักกับหนัง exotic ทั้ง 4 ประเภท ของกระเป๋าแบรนด์ S'uvimol
  • รีวิว Squid Game: หรือความเท่าคือความเทียม?
    รีวิว Squid Game: หรือความเท่าคือความเทียม?
Follow Me
  • Instagram
  • Facebook
  • Twitter
  • YouTube
Contact
Bangkok, Thailand
LINE ID: @kwanmanie
kwanmanieisworking@gmail.com
ABOUT KWANMANIE

ขวัญ จบอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เป็นบล็อกเกอร์ ชอบดูหนัง อ่านหนังสือ ซื้อกระเป๋า เลี้ยงแมว เลี้ยงต้นไม้ และเป็นติวเตอร์ เน้นสอน Essay Writing

KWANMANIE
  • Home
  • Courses
  • Films
  • Books
  • Lifestyle & Perspective
  • Study
  • About Me
Movie Blogger | Essay Tutor

Input your search keywords and press Enter.